"เฉลิม" นั่งประธาน ตั้งเป้า 1 ปีเห็นผล เล็งใช้มาตรการยึดทรัพย์ควบคู่ปราบปราม...
เมื่อเวลา 10.00 น. 11 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดปฏิบัติการวาระแห่งชาติพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดโดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผบ.เหล่าทัพ ผบ.ตร. ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย สาธารณสุข ร่วมงานกว่า 500 คน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดปฏิบัติการว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงชี้ให้เห็นภัยอันตรายของปัญหานี้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดปฏิบัติการว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงชี้ให้เห็นภัยอันตรายของปัญหานี้
"ปัญหานี้ทำลายสังคม เศรษฐกิจ เเละอนาคตของลูกหลาน เยาวชน หากวันนี้ได้ผู้ป่วย 4 แสนคนกลับคืนมาให้สังคมจะเป็นพลังและตัวแทนในการแก้ปัญหา ขอฝากให้ทุกฝ่ายกลับไปวิเคราะห์ต้นเหตุปัญหาและสาเหตุเยาวชนที่ติดยาเสพติด
เพราะเป็นตัวเลขที่น่าใจหาย เยาวชนที่ติดยาเสพติดอายุประมาณ 16-24 ปี กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญของชาติ ทุกฝ่ายควรเข้าใจปัญหาทั้งหมด การประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้เป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
เพราะเป็นตัวเลขที่น่าใจหาย เยาวชนที่ติดยาเสพติดอายุประมาณ 16-24 ปี กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญของชาติ ทุกฝ่ายควรเข้าใจปัญหาทั้งหมด การประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้เป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศพส. กล่ามอบนโยบายว่า รัฐบาลตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า 1 ปีจะลดยาเสพติดให้ได้ ตั้งใจประการแรกว่า จะต้องลดปริมาณยาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงให้ได้ ที่สำคัญคือ จะให้คงหน่วยงาน ปส.315 ซึ่งก่อตั้งเมื่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเอาไว้ เพราะจำเป็นจะต้องเอาไว้ช่วยงานเรื่องยาเสพติด เราต้องแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด โดยเฉพาะในเรือนจำที่มีการสั่งการให้ซื้อขายยาเสพติด หากท่านไม่สามารถตัดสัญญาณโทรศัพท์ หรือห้ามไม่ให้มีการขายโทรศัพท์ในเรือนจำได้ ท่านก็ควรจะดักฟังไปเลย สำหรับมาตรการปิดรอยตะเข็บชายแดนนั้น พบว่า ในพื้นที่ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เป็นจุดที่มียาเสพติดผ่านทั้งหมด 87% ที่เหลือมาจากทางอื่น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องไปจัดการปิดตะเข็บชายแดนให้เรียบร้อย หากวันนี้เราตั้งด่านอยู่ 80 ด่าน ก็เพิ่มเป็น 200 ด่าน
นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการสกัดสารตั้งต้นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องขอร้องกระทรวงสาธารณสุขให้ไปหาหนทางควบคุมการนำเข้ายาแก้หวัดและยาแก้ไอให้ได้ส่วนมาตรการการป้องกันนั้น จะมีศูนย์พลังแผ่นดินอยู่ทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยขอร้องให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เดินไปด้วยกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำหรับมาตรการบำบัดฟื้นฟูนั้นได้แจ้งไปยัง รมว.กลาโหม และ รมว.ยุติธรรม ขอให้ไปตรวจดูผู้ต้องโทษเรื่องยาเสพติดทั้งในคุกทหารและเรือนจำ ของกรมราชทัณฑ์ หากคนใดมีพฤติกรรมดีก็ให้เอามาเข้าโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง รัฐบาลจะมีมาตรการปราบปรามที่จะยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมากล่าวหากันว่ามีการฆ่าตัดตอน แต่ผลการสอบสวนของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ชี้ชัดเจนว่าไม่มีการฆ่าตัดตอนแม้แต่คดีเดียว
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปจัดการเรื่องสารตั้งต้น เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาในชุมชน โดยคาดหวังว่าจะสามารถป้องกันในเรื่องของผู้เสพราย ใหม่ กลุ่มเสี่ยงไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า
กระทรวงกลาโหมได้วางแผนในการดำเนินการ 5 นโยบาย คือ
1.ป้องกันไม่ให้กำลังพล ครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.ด้านข่าวกรองยาเสพติดต้องมีประสิทธิภาพทั้งในและนอกประเทศ
3.สกัดกั้นการนำเข้า การส่งออกยาเสพติด
4.สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ผ่าน กอรมน. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด
5.สนับสนุนการฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติด ขยายการฝึกนักเรียนในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ได้ 3 หมื่นคนต่อปี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า
กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินนโยบายด้านยาเสพติดใน 5 ประการ คือ
1.บทบาทที่จะเป็นหน่วยนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก สมานฉันท์มาปฏิบัติ โดยตอนแรกจะยังไม่ใช้กฎหมายเข้ม ให้โอกาสผู้เสพในการบำบัด นอกจากนี้จะกำหนดยุติธรรมจังหวัดขึ้นมาในทุกจังหวัดเพื่อดูแลโดยเฉพาะ
2.บทบาทการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ใช้หลักนิติธรรม เน้นการปราบปรามเครือข่าย การค้า การขาย ผู้มีอิทธิพล ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
3.บทบาทการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผ่านกรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
4.บทบาทของการบังคับใช้โทษโดยกรมราชทัณฑ์ ที่ต้องดำเนินการกับผู้ต้องขังด้วยความละมุนละม่อม และ
5.บทบาทในหน่วยบูรณาการผ่านสำนักงาน ป.ป.ส. สร้างความร่วมมือใหัหน่วยต่างๆ ให้เกิดขึ้น
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องการปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งกำชับไปยังทุกกองบัญชาการให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น
ส่วนการปราบปรามในเชิงลึก ทางตำรวจได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการทั้งหมด 18 ชุด โดยเป็นชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บช.ภ.5-6 ชุดหนึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ 17-18 นาย
ที่จะระดมปราบปรามในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วยเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน การทำงานเบื้องต้นจะต้องเห็นผลภายใน 3-4 เดือน ต่อจากนี้จะมีการดึงเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เข้ามาช่วยประกอบกำลังด้วยแต่จะยังไม่มีการนำชุดปฏิบัติการดังกล่าวมาใช้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องรอการประเมินเสียก่อน นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และรถยนต์ไว้ใช้ในพื้นที่เข้าไปเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการสกัดสารตั้งต้นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องขอร้องกระทรวงสาธารณสุขให้ไปหาหนทางควบคุมการนำเข้ายาแก้หวัดและยาแก้ไอให้ได้ส่วนมาตรการการป้องกันนั้น จะมีศูนย์พลังแผ่นดินอยู่ทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยขอร้องให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เดินไปด้วยกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำหรับมาตรการบำบัดฟื้นฟูนั้นได้แจ้งไปยัง รมว.กลาโหม และ รมว.ยุติธรรม ขอให้ไปตรวจดูผู้ต้องโทษเรื่องยาเสพติดทั้งในคุกทหารและเรือนจำ ของกรมราชทัณฑ์ หากคนใดมีพฤติกรรมดีก็ให้เอามาเข้าโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง รัฐบาลจะมีมาตรการปราบปรามที่จะยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมากล่าวหากันว่ามีการฆ่าตัดตอน แต่ผลการสอบสวนของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ชี้ชัดเจนว่าไม่มีการฆ่าตัดตอนแม้แต่คดีเดียว
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปจัดการเรื่องสารตั้งต้น เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาในชุมชน โดยคาดหวังว่าจะสามารถป้องกันในเรื่องของผู้เสพราย ใหม่ กลุ่มเสี่ยงไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า
กระทรวงกลาโหมได้วางแผนในการดำเนินการ 5 นโยบาย คือ
1.ป้องกันไม่ให้กำลังพล ครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.ด้านข่าวกรองยาเสพติดต้องมีประสิทธิภาพทั้งในและนอกประเทศ
3.สกัดกั้นการนำเข้า การส่งออกยาเสพติด
4.สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ผ่าน กอรมน. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด
5.สนับสนุนการฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติด ขยายการฝึกนักเรียนในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ได้ 3 หมื่นคนต่อปี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า
กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินนโยบายด้านยาเสพติดใน 5 ประการ คือ
1.บทบาทที่จะเป็นหน่วยนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก สมานฉันท์มาปฏิบัติ โดยตอนแรกจะยังไม่ใช้กฎหมายเข้ม ให้โอกาสผู้เสพในการบำบัด นอกจากนี้จะกำหนดยุติธรรมจังหวัดขึ้นมาในทุกจังหวัดเพื่อดูแลโดยเฉพาะ
2.บทบาทการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ใช้หลักนิติธรรม เน้นการปราบปรามเครือข่าย การค้า การขาย ผู้มีอิทธิพล ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
3.บทบาทการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผ่านกรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
4.บทบาทของการบังคับใช้โทษโดยกรมราชทัณฑ์ ที่ต้องดำเนินการกับผู้ต้องขังด้วยความละมุนละม่อม และ
5.บทบาทในหน่วยบูรณาการผ่านสำนักงาน ป.ป.ส. สร้างความร่วมมือใหัหน่วยต่างๆ ให้เกิดขึ้น
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องการปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งกำชับไปยังทุกกองบัญชาการให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น
ส่วนการปราบปรามในเชิงลึก ทางตำรวจได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการทั้งหมด 18 ชุด โดยเป็นชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บช.ภ.5-6 ชุดหนึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ 17-18 นาย
ที่จะระดมปราบปรามในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วยเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน การทำงานเบื้องต้นจะต้องเห็นผลภายใน 3-4 เดือน ต่อจากนี้จะมีการดึงเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เข้ามาช่วยประกอบกำลังด้วยแต่จะยังไม่มีการนำชุดปฏิบัติการดังกล่าวมาใช้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องรอการประเมินเสียก่อน นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และรถยนต์ไว้ใช้ในพื้นที่เข้าไปเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น