นโยบายรัฐบาลที่เตรียมนำแถลงต่อรัฐสภาวันที่ 24 สิงหาคมผ่านความเห็นชอบในหลักการจากครม.เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมโดยมีเนื้อหา 34 หน้า แบ่งออกเป็น 8 นโยบาย ในจำนวนนี้ มีนโยบายเร่งด่วน17 หัวข้อที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะดำเนินการขับเคลื่อนให้เห็นผลในปีแรกของการบริหารราชการแผ่นดิน
1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
- สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540
- สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจ สอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน
2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
4.เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
5.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
6.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
7.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท
- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก
8.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
9.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย
- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษา
10.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
11.ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง -เล็ก
12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ
14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค
15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น