วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

วิเคราะห์การเมืองไทยหลังเลือกตั้ง

     ASTVผู้จัดการ - สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่ข้อเขียนที่เป็นการเสนอภาพสมมติสถานการณ์ (scenarios) ต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ภายหลังการเลือกตั้งของไทยในวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ โดยเน้นหนักไปที่รัฐบาลชุดต่อไป ซึ่งน่าจะนำโดยพรรคเพื่อไทย หรือไม่ก็พรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนปฏิกิริยาของตลาดการเงินต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนี้
รายงานของรอยเตอร์ได้เสนอภาพสมมุติสถานการณ์เอาไว้ 4 แบบ ดังนี้
     **“เพื่อไทย” ได้จัดตั้งรัฐบาลผสม**
โพลหยั่งเสียงประชามติของสำนักต่างๆ ในประเทศไทย ให้ตัวเลขที่แตกต่างกันมากอย่างน่าพิศวง แต่ก็ดูเหมือนจะชี้ผลลัพธ์ตรงกันอยู่ นั่นก็คือ พรรคเพื่อไทยจะชนะได้ที่นั่งในสภามากที่สุด ทว่าไม่ถึงขนาดได้ครองเสียงข้างมาก ดังนั้น พรรคนี้จะจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนจากพวกพรรคขนาด เล็กกว่า เรื่องนี้มีความเป็นไปได้ ถึงแม้ประเด็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันประการหนึ่ง จะเป็นเรื่องที่พรรคเพื่อไทยเสนอให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกห้ามไม่ให้ ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จุดมุ่งหมายที่ไม่ได้พูดกันออกมา ก็คือ การเปิดทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเนรเทศตนเองไปอยู่ที่ดูไบ สามารถกลับเมืองไทยได้โดยไม่ต้องรับโทษจำคุก 2 ปีในความผิดฐานทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้พวกพรรคที่มีศักยภาพเข้าร่วมตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเพื่อไทยได้นั้น ใช่ว่าจะพอใจกับข้อเสนอนี้กระทั่งถ้าหากสามารถฝ่าข้ามอุปสรรคสำคัญข้อนี้ไป ได้แล้ว รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นมาก็ยังอาจต้องเผชิญการต่อต้านคัดค้าน ทั้งจากการประท้วงตามท้องถนน, การพิจารณาคดีในศาล และฝ่ายทหาร ถ้าพรรคเพื่อไทยได้รับความยินยอมให้เข้าปกครองประเทศจริงๆ นายกรัฐมนตรีน่าจะได้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ เธอเป็นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง และพิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นนักรณรงค์หาเสียงที่มีประสิทธิภาพ ทว่า ยังถือเป็นมือใหม่ในทางการเมือง เป็นเรื่องยากที่จะเห็นตลาดหลักทรัพย์ทะยานขึ้นมากมายอะไรในระยะสั้น ถ้าหากเป็นรัฐบาลผสมนำโดยเพื่อไทย เนื่องจากมีความไม่แน่นอนในเรื่องที่รัฐบาลนี้จะอยู่ยืดไปได้นานขนาดไหน บวกกับความหวาดกลัวกันจริงๆ ว่า จะเกิดความไม่สงบอย่างสาหัส ถ้าหากรัฐบาลโปรทักษิณนี้ถูกบังคับให้ตกลงจากอำนาจอีกคำรบหนึ่ง หากรัฐบาลนี้สามารถอยู่ยืดไปได้สัก 2-3 เดือน และทำท่าว่าอาจจะอยู่รอดไปได้ชนิดผิดความคาดหมาย แรงซื้อก็อาจจะกลับคืนเข้าสู่ตลาดหุ้น ซึ่งน่าที่จะผลักดันให้ค่าเงินบาทสูงขึ้นด้วย สำหรับราคาของพันธบัตรน่าที่จะอ่อนตัวลง เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็อาจเร่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ เนื่องจากในการรณรงค์หาเสียงได้ให้สัญญาในลักษณะประชานิยม ซึ่งจะทำให้รัฐต้องใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และต้องมีการออกพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พวกนักลงทุนภายในประเทศมีความโน้มเอียงที่จะถือครองพวกพันธบัตรท้องถิ่นใน เวลาที่มีความไม่แน่นอน ดังนั้นจึงอาจส่งผลจำกัดการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ในระยะยาว
     **“เพื่อไทย” ชนะขาดลอยสามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียว**
ภาพสมมติสถานการณ์นี้ดูมีความเป็นไปได้น้อย แต่ก็ไม่สามารถที่จะบอกปัดไปอย่างสิ้นเชิง พรรคการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เคยชนะแบบถล่มทลายมาแล้วในปี 2001 และ 2005 และพรรคที่หนุนหลังเขาก็ยังชนะอีกในการเลือกตั้งปลายปี 2007 ภายหลังกสนรัฐประหาร พรรคนี้เองที่ถูกศาลสั่งยุบเลิกไปในปี 2008 ซึ่งเปิดทางให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สามารถที่จะจัดตั้งคณะรัฐบาลผสม ที่บางคนบอกว่าไปตกลงตั้งกันในค่ายทหาร ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รัฐบาลโปรทักษิณน่าที่จะคัดค้านพลังอำนาจนอกรัฐสภา มีรายงานบางกระแสระบุว่า ฝ่ายของทักษิณกำลังเจรจากับฝ่ายทหาร ในเรื่องการทำข้อตกลงชั่วคราวในรูปใดรูปหนึ่งภายหลังการเลือกตั้งแล้ว โดยที่เพื่อไทยจะได้ขึ้นปกครองประเทศ ส่วนพวกนายทหารใหญ่ก็จะไม่ถูกโยกย้าย ขณะที่การแต่งตั้งโยกย้ายที่จะกระทำกันครั้งถัดๆ ไปจะจำกัดอยู่แต่เฉพาะพวกนายทหารระดับกลาง หากไม่เปิดทางให้พรรคเพื่อไทยเข้าปกครองประเทศแล้ว ไทยก็อาจเผชิญกับการประท้วงที่นองเลือดยิ่งกว่าครั้งที่เคยเกิดขึ้นในเดือน เมษายน/พฤษภาคม 2010 ซึ่งส่งผลให้บางส่วนของกรุงเทพฯกลายเป็นอัมพาต และมีผู้เสียชีวิตไป 91 คน นักวิเคราะห์บางราย เชื่อว่า พวก “เสื้อแดง” นิยมทักษิณจำนวนเรือนแสน จะออกมาตามท้องถนนเพื่อประท้วงคัดค้าน ถ้าหากจะมีการรัฐประหารของฝ่ายทหาร
     **“เพื่อไทย” ชนะได้เสียงมากที่สุด แต่ “ประชาธิปัตย์” ยังคงได้ครองอำนาจ**
พวกพรรคขนาดเล็กๆ อาจจะลังเลรีรอที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลผสม ซึ่งนำโดยพรรคเพื่อไทย เนื่องจากมีส่วนประกอบอันทรงอำนาจหลายๆ ส่วนมากเกินไป ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะไม่ปล่อยให้เพื่อไทยขึ้นปกครองประเทศ และเนื่องจากประเด็นทางด้านอุดมการณ์ตลอดจนประเด็นทางการเมืองต่างๆ แทบไม่ได้มีผลในการชี้นำการตัดสินใจอยู่แล้ว พรรคเล็กเหล่านี้จึงอาจเลือกที่จะอยู่กับฝ่ายซึ่งสามารถทำให้เหล่าผู้นำของ พวกเขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ยาวนานกว่า ตลาดการเงินอาจจะมีความยินดีมากกว่าที่จะได้เห็นรัฐบาลผสมที่นำโดย ประชาธิปัตย์อีกรอบหนึ่ง โดยที่มีนายอภิสิทธิ์เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป และนายกรณ์ จาติกวณิช ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีคลัง อย่างไรก็ตาม อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรยังน่าที่จะเคลื่อนไหวไปในทางสูงขึ้น เนื่องจากเหตุผลทางด้านวัฏจักร นอกจากนั้นธรรมชาติอันสับสนวุ่นวายของการจัดตั้งรัฐบาลผสม ก็อาจจะชักนำให้พวกนักลงทุนในตลาดหุ้นถอยหลังออกมารอดูสถานการณ์นานขึ้นไป อีก เพื่อให้ฝุ่นที่ตลบอยู่ค่อยจางลงไป มีความเป็นไปได้อยู่สูงทีเดียวที่จะเกิดความไม่สงบขึ้นมาภายหลัง ผลลัพธ์ทางการเมืองออกมาในลักษณะนี้ เนื่องจากพวกผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ จะเชื่อว่าพวกเขาถูกปล้นชัยชนะอีกแล้ว
     **“ประชาธิปปัตย์” เป็นฝ่ายชนะได้เสียงมากที่สุด**
พวกผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ได้บอกเอาไว้ว่าจะยอมรับผลลัพธ์ที่ออกมาเช่นนี้ หากการเลือกตั้งเป็นไปอย่างยุติธรรม ตลาดการเงินนั้นจะชื่นชอบที่สุดถ้าผลลัพธ์ออกมาในลักษณะนี้จริงๆ ทว่า มันก็มีความเป็นไปได้น้อยมากๆ เมื่อวินิจฉัยจากผลโพลต่างๆ และการรณรงค์หาเสียงของประชาธิปัตย์ที่ดูไม่มีชีวิตชีวา แต่ถ้าผลลัพธ์ออกมาในลักษณะนี้แล้ว นายอภิสิทธิ์ ก็จะมีเสรีในการจัดสรรตำแหน่งต่างๆ ในรัฐบาล โดยตำแหน่งที่สำคัญและเป็นที่ต้องการกันมาก ก็ได้แก่รัฐมนตรีในกระทรวงอย่างพาณิชย์ และคมนาคม ซึ่งในคราวนี้จะไม่ต้องถูกนำออกไปสมนาคุณแก่พวกพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2008 การปฏิรูปสำคัญๆ ที่เคยถูกละเลยทอดทิ้ง เนื่องจากความปั่นป่วนวุ่นวาย ตัวอย่างเช่น ระบบระเบียบใหม่สำหรับอุตสาหกรรมการสื่อสาร ก็ควรที่จะได้รับความสนใจมากขึ้น สำหรับตลาดหุ้น หากเงื่อนไขอื่นๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่โตแล้ว ก็น่าที่จะพุ่งทะยานแรง และเงินบาทก็น่าจะถูกลากให้มีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย ทางด้านพันธบัตรอาจเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งก็ด้วยเหตุผลทางวัฏจักรอีก บวกกับเหตุผลที่ว่าประชาธิปัตย์ยังจะต้องทำตามคำมั่นสัญญาในการหาเสียง อันจะทำให้ภาครัฐมีการใช้จ่ายสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อก็จะพุ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น