การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2550 อันกำหนดให้มีกาารเลือกตั้งขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 การเลือกตั้งครั้งนี้มีขึ้นในห้วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำรัฐบาล อันประกอบด้วยพรรคร่วมรัฐบาลหลายพรรค และได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติอย่างต่อ เนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา คะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเลือกตั้งก่อนสภาผู้แทนราษฎรจะครบวาระ มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งออกมาใช้สิทธิ์ทั้งสิ้น 75.03% ผลปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎรเกินกึ่งหนึ่ง 265 ที่ นับเป็นครั้งที่สองในรอบทศวรรษที่มีพรรคการเมืองได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่ง หนึ่งในสภาผู้แทนราษฎร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคฝ่ายค้านหลัก โดยได้ที่นั่งผู้แทนราษฎร 159 ที่
เบื้องหลัง
ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 ปรากฏว่าพรรคพลังประชาชนได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดได้เป็นแกนนำจัดตั้ง รัฐบาล แต่ได้มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน คือ สมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หลังจากคดียุบพรรคการเมืองซึ่งส่งผลให้พรรครัฐบาลหลักสามพรรคถูกยุบ ได้มีการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ซึ่งผลปรากฏว่า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยเสียงสนับสนุนสำคัญจากพรรคภูมิใจไทยโดย หลังจากนั้นได้มีการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติมา อย่างต่อเนื่อง จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์ กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์, วีระ มุสิกพงศ์ และ เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอเนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะ ยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จ โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายใน เวลา 9 เดือน จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือก ตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่ จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมย์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมาก แพง การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ หากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง พรรคการเมืองที่ลงสมัครพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน
จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น