วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
นายกยิ่งลักษณ์เยือนประเทศอาเซียนกระชับความสัมพันธ์
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2554 เวลา 15.15 น. นายกรัฐมนตรีจะออกเดินทางจากท่าอากาศทหารกองบิน 6 เพื่อไปยังบรูไนดารุสซาลาม และมีกำหนดการที่จะเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ณ พระราชวังนูรุล อิมาน เพื่อหารือข้อราชการ และเข้าร่วมงานเลี้ยงพระกายาหารค่ำที่สมเด็จพระราชาธิบดีทรงพระราชทานเลี้ยงเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ก่อนจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในเวลาประมาณ 00.45 น. ณ ท่าอากาศยานทหารกองบิน 6
การเดินทางเยือนประเทศบรูไนในครั้งนี้ ถือเป็นการเยือนประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นประเทศแรกของนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำตัวในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับบรูไน โดยคาดว่า จะมีการหารือในภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-บรูไน และความร่วมมือในกรอบทวิภาคีที่สำคัญ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร ความร่วมมือด้านการศึกษา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมฮาลาล ความร่วมมือด้านพลังงาน รวมทั้งจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือในกรอบอาเซียน และนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้แสดงความขอบคุณบรูไนที่ให้การสนับสนุนไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความร่วมมืออิสลาม (Organization of Islamic Cooperation- OIC) อีกด้วย
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2554 เวลา 05.45 น. นายกรัฐมนตรีจะออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 เพื่อไปยังสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งมีกำหนดการที่จะหารือข้อราชการกับ ดร. ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ณ ทำเนียบประธานาธิบดี ก่อนที่ประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ จากนั้น นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปร่วมพิธีวางพวงมาลา ณ อนุเสาวรีย์วีรชน ก่อนเดินทางกลับถึงท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 เวลา 18.00 น. ในวันเดียวกัน
โดยนายกรัฐมนตรีจะใช้โอกาสนี้ ย้ำถึงความร่วมมือระหว่างไทย-อินโดนีเซียในด้านต่างๆ ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และแนวทางความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นหุ้นส่วนทางยุทศาสตร์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ซึ่งที่ผ่านมา ประเทศไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดในทุกระดับและทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือในกรอบอาเซียน
การเยือนเพื่อแนะนำตัวในโอกาสรับตำแหน่งครั้งนี้ จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ดีระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมทั้งใช้โอกาสดังกล่าวในการติดตามทบทวนสถานะความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยและอินโดนีเซียในด้านต่างๆ และหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคตในด้านที่ทั้งสองฝ่ายเห็นประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนประเด็นนานาชาติที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน ทั้งนี้ ไทยและอินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และได้ฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ไปเมื่อปี พ.ศ. 2553
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดการเดินทางเยือนประเทศกัมพูชา ในวันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554 และประเทศลาว ในวันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554 ต่อไป
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
นโยบายปราบปรามยาเสพติดของนายกยิ่งลักษณ์
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ คิกออฟปราบยาเสพติด วอนทุกฝ่ายร่วมมือแก้ปัญหา ยกเป็นวาระแห่งชาติวางเครือข่ายทุกหมู่บ้านเฝ้าระวัง
"เฉลิม" นั่งประธาน ตั้งเป้า 1 ปีเห็นผล เล็งใช้มาตรการยึดทรัพย์ควบคู่ปราบปราม...
"เฉลิม" นั่งประธาน ตั้งเป้า 1 ปีเห็นผล เล็งใช้มาตรการยึดทรัพย์ควบคู่ปราบปราม...
เมื่อเวลา 10.00 น. 11 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดปฏิบัติการวาระแห่งชาติพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดโดยมีรองนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ผบ.เหล่าทัพ ผบ.ตร. ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย สาธารณสุข ร่วมงานกว่า 500 คน
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดปฏิบัติการว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงชี้ให้เห็นภัยอันตรายของปัญหานี้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวเปิดปฏิบัติการว่า ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่รัฐบาลนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่ต้องสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงชี้ให้เห็นภัยอันตรายของปัญหานี้
"ปัญหานี้ทำลายสังคม เศรษฐกิจ เเละอนาคตของลูกหลาน เยาวชน หากวันนี้ได้ผู้ป่วย 4 แสนคนกลับคืนมาให้สังคมจะเป็นพลังและตัวแทนในการแก้ปัญหา ขอฝากให้ทุกฝ่ายกลับไปวิเคราะห์ต้นเหตุปัญหาและสาเหตุเยาวชนที่ติดยาเสพติด
เพราะเป็นตัวเลขที่น่าใจหาย เยาวชนที่ติดยาเสพติดอายุประมาณ 16-24 ปี กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญของชาติ ทุกฝ่ายควรเข้าใจปัญหาทั้งหมด การประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้เป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
เพราะเป็นตัวเลขที่น่าใจหาย เยาวชนที่ติดยาเสพติดอายุประมาณ 16-24 ปี กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญของชาติ ทุกฝ่ายควรเข้าใจปัญหาทั้งหมด การประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้เป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริง
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.ศพส. กล่ามอบนโยบายว่า รัฐบาลตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า 1 ปีจะลดยาเสพติดให้ได้ ตั้งใจประการแรกว่า จะต้องลดปริมาณยาเสพติดและกลุ่มเสี่ยงให้ได้ ที่สำคัญคือ จะให้คงหน่วยงาน ปส.315 ซึ่งก่อตั้งเมื่อรัฐบาลชุดที่ผ่านมาเอาไว้ เพราะจำเป็นจะต้องเอาไว้ช่วยงานเรื่องยาเสพติด เราต้องแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด โดยเฉพาะในเรือนจำที่มีการสั่งการให้ซื้อขายยาเสพติด หากท่านไม่สามารถตัดสัญญาณโทรศัพท์ หรือห้ามไม่ให้มีการขายโทรศัพท์ในเรือนจำได้ ท่านก็ควรจะดักฟังไปเลย สำหรับมาตรการปิดรอยตะเข็บชายแดนนั้น พบว่า ในพื้นที่ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เป็นจุดที่มียาเสพติดผ่านทั้งหมด 87% ที่เหลือมาจากทางอื่น ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ต้องไปจัดการปิดตะเข็บชายแดนให้เรียบร้อย หากวันนี้เราตั้งด่านอยู่ 80 ด่าน ก็เพิ่มเป็น 200 ด่าน
นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการสกัดสารตั้งต้นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องขอร้องกระทรวงสาธารณสุขให้ไปหาหนทางควบคุมการนำเข้ายาแก้หวัดและยาแก้ไอให้ได้ส่วนมาตรการการป้องกันนั้น จะมีศูนย์พลังแผ่นดินอยู่ทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยขอร้องให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เดินไปด้วยกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำหรับมาตรการบำบัดฟื้นฟูนั้นได้แจ้งไปยัง รมว.กลาโหม และ รมว.ยุติธรรม ขอให้ไปตรวจดูผู้ต้องโทษเรื่องยาเสพติดทั้งในคุกทหารและเรือนจำ ของกรมราชทัณฑ์ หากคนใดมีพฤติกรรมดีก็ให้เอามาเข้าโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง รัฐบาลจะมีมาตรการปราบปรามที่จะยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมากล่าวหากันว่ามีการฆ่าตัดตอน แต่ผลการสอบสวนของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ชี้ชัดเจนว่าไม่มีการฆ่าตัดตอนแม้แต่คดีเดียว
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปจัดการเรื่องสารตั้งต้น เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาในชุมชน โดยคาดหวังว่าจะสามารถป้องกันในเรื่องของผู้เสพราย ใหม่ กลุ่มเสี่ยงไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า
กระทรวงกลาโหมได้วางแผนในการดำเนินการ 5 นโยบาย คือ
1.ป้องกันไม่ให้กำลังพล ครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.ด้านข่าวกรองยาเสพติดต้องมีประสิทธิภาพทั้งในและนอกประเทศ
3.สกัดกั้นการนำเข้า การส่งออกยาเสพติด
4.สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ผ่าน กอรมน. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด
5.สนับสนุนการฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติด ขยายการฝึกนักเรียนในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ได้ 3 หมื่นคนต่อปี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า
กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินนโยบายด้านยาเสพติดใน 5 ประการ คือ
1.บทบาทที่จะเป็นหน่วยนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก สมานฉันท์มาปฏิบัติ โดยตอนแรกจะยังไม่ใช้กฎหมายเข้ม ให้โอกาสผู้เสพในการบำบัด นอกจากนี้จะกำหนดยุติธรรมจังหวัดขึ้นมาในทุกจังหวัดเพื่อดูแลโดยเฉพาะ
2.บทบาทการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ใช้หลักนิติธรรม เน้นการปราบปรามเครือข่าย การค้า การขาย ผู้มีอิทธิพล ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
3.บทบาทการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผ่านกรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
4.บทบาทของการบังคับใช้โทษโดยกรมราชทัณฑ์ ที่ต้องดำเนินการกับผู้ต้องขังด้วยความละมุนละม่อม และ
5.บทบาทในหน่วยบูรณาการผ่านสำนักงาน ป.ป.ส. สร้างความร่วมมือใหัหน่วยต่างๆ ให้เกิดขึ้น
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องการปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งกำชับไปยังทุกกองบัญชาการให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น
ส่วนการปราบปรามในเชิงลึก ทางตำรวจได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการทั้งหมด 18 ชุด โดยเป็นชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บช.ภ.5-6 ชุดหนึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ 17-18 นาย
ที่จะระดมปราบปรามในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วยเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน การทำงานเบื้องต้นจะต้องเห็นผลภายใน 3-4 เดือน ต่อจากนี้จะมีการดึงเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เข้ามาช่วยประกอบกำลังด้วยแต่จะยังไม่มีการนำชุดปฏิบัติการดังกล่าวมาใช้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องรอการประเมินเสียก่อน นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และรถยนต์ไว้ใช้ในพื้นที่เข้าไปเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่
นอกจากนี้ ยังต้องมีมาตรการสกัดสารตั้งต้นที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องขอร้องกระทรวงสาธารณสุขให้ไปหาหนทางควบคุมการนำเข้ายาแก้หวัดและยาแก้ไอให้ได้ส่วนมาตรการการป้องกันนั้น จะมีศูนย์พลังแผ่นดินอยู่ทุกหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด โดยขอร้องให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัด เดินไปด้วยกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติด สำหรับมาตรการบำบัดฟื้นฟูนั้นได้แจ้งไปยัง รมว.กลาโหม และ รมว.ยุติธรรม ขอให้ไปตรวจดูผู้ต้องโทษเรื่องยาเสพติดทั้งในคุกทหารและเรือนจำ ของกรมราชทัณฑ์ หากคนใดมีพฤติกรรมดีก็ให้เอามาเข้าโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง รัฐบาลจะมีมาตรการปราบปรามที่จะยึดหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งในสมัยรัฐบาลที่ผ่านมากล่าวหากันว่ามีการฆ่าตัดตอน แต่ผลการสอบสวนของรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ชี้ชัดเจนว่าไม่มีการฆ่าตัดตอนแม้แต่คดีเดียว
นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปจัดการเรื่องสารตั้งต้น เรื่องการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาในชุมชน โดยคาดหวังว่าจะสามารถป้องกันในเรื่องของผู้เสพราย ใหม่ กลุ่มเสี่ยงไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม กล่าวว่า
กระทรวงกลาโหมได้วางแผนในการดำเนินการ 5 นโยบาย คือ
1.ป้องกันไม่ให้กำลังพล ครอบครัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2.ด้านข่าวกรองยาเสพติดต้องมีประสิทธิภาพทั้งในและนอกประเทศ
3.สกัดกั้นการนำเข้า การส่งออกยาเสพติด
4.สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานอื่นๆ ผ่าน กอรมน. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันเรื่องยาเสพติด
5.สนับสนุนการฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติด ขยายการฝึกนักเรียนในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ได้ 3 หมื่นคนต่อปี
พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า
กระทรวงยุติธรรมจะดำเนินนโยบายด้านยาเสพติดใน 5 ประการ คือ
1.บทบาทที่จะเป็นหน่วยนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือก สมานฉันท์มาปฏิบัติ โดยตอนแรกจะยังไม่ใช้กฎหมายเข้ม ให้โอกาสผู้เสพในการบำบัด นอกจากนี้จะกำหนดยุติธรรมจังหวัดขึ้นมาในทุกจังหวัดเพื่อดูแลโดยเฉพาะ
2.บทบาทการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย ใช้หลักนิติธรรม เน้นการปราบปรามเครือข่าย การค้า การขาย ผู้มีอิทธิพล ดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด
3.บทบาทการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผ่านกรมคุมประพฤติ และกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
4.บทบาทของการบังคับใช้โทษโดยกรมราชทัณฑ์ ที่ต้องดำเนินการกับผู้ต้องขังด้วยความละมุนละม่อม และ
5.บทบาทในหน่วยบูรณาการผ่านสำนักงาน ป.ป.ส. สร้างความร่วมมือใหัหน่วยต่างๆ ให้เกิดขึ้น
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ตร. ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องการปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ได้สั่งกำชับไปยังทุกกองบัญชาการให้เข้มงวดกวดขันมากขึ้น
ส่วนการปราบปรามในเชิงลึก ทางตำรวจได้ดำเนินมาก่อนหน้านี้อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการทั้งหมด 18 ชุด โดยเป็นชุดเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก บช.ภ.5-6 ชุดหนึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ 17-18 นาย
ที่จะระดมปราบปรามในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วยเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน การทำงานเบื้องต้นจะต้องเห็นผลภายใน 3-4 เดือน ต่อจากนี้จะมีการดึงเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เข้ามาช่วยประกอบกำลังด้วยแต่จะยังไม่มีการนำชุดปฏิบัติการดังกล่าวมาใช้พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะต้องรอการประเมินเสียก่อน นอกจากนี้จะมีการสนับสนุนเรื่องงบประมาณต่างๆ ทั้งการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์และรถยนต์ไว้ใช้ในพื้นที่เข้าไปเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่
นโยบายขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ปริญญาตรี 15000 บาท เริ่มมกราคม 2555
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี ปรับ ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ปริญญาตรี 15,000 บาท คลอบคลุม กลุ่มราชการคือ
- ข้าราชการ
- ลูกจ้างประจำ
- ลูกจ้างชั่วคราว ที่จ้างจากเงินงบประมาณ
- พนักงานราชการ
- ทหารกองประจำการ
กลุ่มปริญญาตรีผู้ได้รับเงินเดือนเกิน 15,000 บาท แต่ไม่เกิน 20,000บาท จะมีเงินค่าครองชีพเพิ่มให้อีก
กลุ่มปริญญาตรีที่เงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้เป็น 15,000 บาท
กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือน 9000 บาทขึ้นไป รับค่าครองชีพ 1,500 บาท
กลุ่มผู้มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ที่ได้รับเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท จะเพิ่มค่าครองชีพให้ถึง 9,000 บาท
อย่างไรก็ดี ในส่วนของรายละเอียดต่างๆ และหน่วยงานที่ไม่ใช่ราชการ จะต้องติดตามข่าวกันต่อไป
สำหรับส่วนของหน่วยงานราชการ กระทรวงการคลัง จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า (ประมาณ กลางเดือน กันยายน 2554) ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2555 ต่อไป
*เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ กระทรวงการคลัง
ข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 93/2554 วันที่ 1 กันยายน 2554
“คลัง” เตรียมเสนอ ครม. เพิ่มเงินปริญญาตรี 15,000 บาท
----------------------------------
“คลัง” เตรียมเสนอ ครม. เพิ่มเงินปริญญาตรี 15,000 บาท
----------------------------------
จำนวน 649,323 คน แบ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้วุฒิปริญญาตรี ขึ้นไป จำนวน 346,365 คน ต่ำกว่าปริญญาตรีโดยรวมถึงทหารกองประจำการจำนวน 302,958 ราย โดยผู้ที่วุฒิปริญญาตรีขึ้นไปจะได้รับเงิน พ.ช.ค. เพิ่มรวมเงินเดือนเป็น15,000 บาท สำหรับผู้ที่วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรียังคงได้รับเงิน พ.ช.ค. 1,500 บาท เช่นเดิม โดยจะขยายเพดานอัตราเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับเงินเดือนค่าจ้างและทหารกองประจำการที่ได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจำ ไม่ถึง 9,000 บาท ก็จะได้รับเงิน พ.ช.ค. เพิ่มรวมกันให้ได้รับเป็น 9,000 บาท ด้วย โดยจะใช้เงินงบประมาณประมาณปีละ 24,533 ล้านบาท ซึ่งได้มีการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ แล้วไม่เป็นปัญหา “การปรับรายได้ดังกล่าวกระทรวงการคลังได้เสนอแนวทางโดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้ บุคลากรภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับภาวะค่าครองชีพและเป็นการช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจดียิ่งขึ้น โดยคาดว่าจะเริ่มใช้ในเดือนมกราคม 2555 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่บุคลากรภาครัฐ สำหรับกลุ่มอื่น ๆ ได้มอบหมายให้กรมบัญชีกลางไปศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อไป” นายวิรุฬกล่าว
เปิดนโยบาย"เศรษฐกิจ" รัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"
นโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
นโยบายเศรษฐกิจมหภาค
1.ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมให้แก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ และให้เศรษฐกิจสามารถเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สนับสนุนการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม และก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มีการจ้างงานเต็มที่ ระดับราคามีเสถียรภาพ ระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
2.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
3.พัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศให้รับผิดชอบต่อคนส่วนใหญ่และผู้ด้อยโอกาส สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและความต้องการที่เปลี่ยนไปตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคมด้วยค่าบริการที่ต่ำและการบริการที่มีประสิทธิภาพ
4.ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างฐานรายได้ภาษีที่ยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ทั้งจากภาษีและที่มิใช่ภาษี
5.ส่งเสริมและรักษาวินัยการคลัง โดยปรับปรุงองค์ประกอบและโครงสร้างงบประมาณให้เหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ
6.ปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการ การบริหารทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเร่งฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาฐานะการเงิน
7.บริหารสินทรัพย์ของประเทศที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้งกองทุนที่สามารถใช้ในการบริหารสินทรัพย์ของชาติให้เป็นประโยชน์ เช่น กองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองแห่งชาติ และกองทุนความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น
นโยบายสร้างรายได้
1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ จัดให้มีการพัฒนาการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี
2.ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงานในประเทศมาเป็นเวลานานให้ก้าวข้ามไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคที่มีฐานะและรสนิยมเฉพาะตัว การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรและอาหาร จะทำให้เป้าหมายการเป็นครัวที่มีคุณภาพของโลกสัมฤทธิผลรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสามารถสร้างรายได้จากความต้องการภายในประเทศ รวมทั้งสร้างการจ้างงานให้แก่ประเทศโดยถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ใหม่
4.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการในประเทศ และธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณค่าและคุณภาพสูง
5.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขยายการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีความพร้อมทางด้านแรงงานและวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศและภูมิภาค
6.ดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาที่เป็นการผลิตสินค้าและบริการที่มีพื้นฐานทางเทคโนโลยีมีมูลค่าสูง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการลงทุนในการสร้างเมืองใหม่ในพื้นที่ที่เหมาะสม และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ
7.เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ สร้างงานที่มีคุณภาพและมีรายได้สูงให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
8.ส่งเสริมการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการเงิน ภายใต้ประโยชน์ร่วมกันของกรอบความร่วมมือและข้อตกลงทางการค้า
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคเกษตร
1.ส่งเสริมสนับสนุนให้สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นกลไกของเกษตรกรในการสื่อสารกับรัฐบาลและร่วมกันพัฒนาเกษตรกรด้วยตนเองตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
2.เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืช โดยการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ปุ๋ยตามคุณสมบัติของดินแต่ละชนิด เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลผลิต
3.เพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์ให้ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก
4.พัฒนาการประมง ทั้งในการเพาะเลี้ยงและในแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้า
5.เสริมสร้างฐานรากของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตที่เป็นขั้นตอน
6.จัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
7.เร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร โดยการพัฒนาสถาบันเกษตรกรในด้านธุรกิจ สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่จากโครงการกองทุนตั้งตัวได้
8.พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
9.ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ ดำเนินการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อเผชิญกับวิกฤตอาหารโลก
ภาคอุตสาหกรรม
1.ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมในประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนของผู้ประกอบการ และยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนส่งเสริมให้มีการสร้างตราสินค้าไทย
2.ยกระดับภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ใช้ปัญญา ใช้เทคโนโลยี และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
3.พัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล และมีโอกาสในการขยายตลาด
4.สร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยสนับสนุนช่องทางการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินต่างๆ
5.กำหนดมาตรฐานและคุณภาพขั้นพื้นฐานของสินค้าอุตสาหกรรมเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ามากขึ้น เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ
6.พัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่ รวมทั้งการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจระหว่างฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยสำหรับรองรับอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อมลพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน
7.เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และอยู่ร่วมกับชุมชนได้
8.ส่งเสริมและจัดให้มีมาตรการทางภาษีและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และการใช้พลังงานจากภาคเกษตร
9.สนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกสาขาการผลิตเข้าประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
10.เร่งรัดสำรวจและแสวงหาแหล่งแร่สำคัญ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน
การตลาด การค้า และการลงทุน
1.ส่งเสริมนโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม เพื่อป้องกันการผูกขาดตัดตอน ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่างๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค
2.สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยปรับปรุงพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบที่ส่งเสริมการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมการลงทุนด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และปรับปรุงมาตรการบริหารการนำเข้าเพื่อป้องกันการค้าที่ไม่เป็นธรรม
3.สนับสนุนการลงทุนในต่างประเทศในสาขาที่ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการเปิดร้านอาหารไทยของคนไทยตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และนโยบายไทยเป็นครัวอาหารโลก
4.ปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การกีฬา และบริการ
5.ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาตลาดเดิมและสร้างตลาดใหม่ เพื่อลดการพึ่งพาการส่งออกไปตลาดหลัก โดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าและบริการในตลาดใหม่ ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
6.พัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้ การผลิตสินค้าและบริการอันเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในตลาดโลก
7.ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี
8.เร่งรัดจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยให้ความสำคัญต่อจังหวัดชายแดน เพื่อส่งเสริมการค้า การตลาด การลงทุน การจ้างงาน และการใช้วัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
นโยบายแรงงาน เพื่อไทย VS ปชป.
นโยบายด้านแรงงานของ2พรรคใหญ่ที่จะนำมาสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้แข่งขันกันดุเดือด
พรรคเพื่อไทยเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้ที่ 300 บาทและปริญญาตรีจบใหม่เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ส่วนพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้อีกร้อยละ 25 ไปพร้อมกับการสานต่อนโยบายลดค่าครองชีพ หลังจากที่ 2 พรรคการเมืองใหญ่เปิดนโยบายเศรษฐกิจเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 3 กรกฏาคมนี้ นโยบายที่ทั้ง 2 พรรค หวังจะซื้อใจประชาชนคนใช้แรง คือนโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสำหรับผู้ใช้แรงงานและมนุษย์เงินเดือน
พรรคเพื่อไทย เสนอนโยบายเศรษฐกิจภายใต้สโลแกน "มองโลกและมองเรา" เน้นการทำการค้าขายกับต่างประเทศไปพร้อมกับการสร้างความแข็งแกร่งภายในประเทศ โดยเริ่มที่การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบขั้นบันได จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23 และให้เหลือร้อยละ 20 ภายในในปี 2556 เมื่อลดภาษีนิติบุคคลแล้ว ก็ต่อด้วยการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้ที่ 300บาทต่อวัน และเพิ่มเงินเดือนสำหรับผู้จบการศึกษาปริญญาตรีที่ 15,000 บาท ทั้งหมดนี้เมื่อทำไปพร้อมๆกันจะทำให้ฟันเฟืองเศรษฐกิจขับเคลื่อนไปได้อย่างดี นายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะยังไม่ลดหรือเพิ่มการจัดเก็บภาษีรายได้ของประชาชนทั่วไปที่เก็บร้อยละ 7 ของรายได้ ภายใต้หลักใหญ่ใจความสำคัญคือจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกและจะนำพาคนไทยก้าวหน้าไปพร้อมกัน และเมื่อนำนโยบายด้านแรงงานมารวมกับนโยบายเศรษฐกิจอื่นๆ พรรคเพื่อไทยเชื่อว่าจะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ที่ร้อยละ 5ได้ไม่ยาก
พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายเศรษฐกิจ2ด้านเช่นกัน คือเศรษฐกิจในระดับชาวบ้านและเศรษฐกิจในระดับภาพรวมของประเทศ โดยนโยบายใหม่ๆ ด้านแรงงานที่ประชาธิปัตย์นำมาสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้คือ เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 และจ่ายค่าจ้างแรงงานตามจำนวนชิ้นงานที่ลูกจ้างผลิตได้ ซึ่งการเพิ่มค่าแรงนี้ทางพรรคได้หารือร่วมกับภาคีแรงงานทั้งส่วนที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างมาแล้ว นอกจากนโยบายการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อนโยบายเดิมที่ช่วยลดภาระรายจ่ายของประชาชนด้วย ทั้งโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน,รถไฟฟรี และสวัสดิการอื่น ๆ จนกว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้น ส่วนงบประมาณที่ใช้ในโครงการต่างๆไม่กำหนดแน่นอนเพราะแต่ละนโยบายใช้เวลาในการดำเนินการไม่เท่ากัน บางนโยบายใช้เวลา 2 ปี แต่บางนโยบายใช้เวลานานถึง 10ปี นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังให้สัญญาว่า จะไม่ทำให้คนไทยเป็นหนี้เพิ่มขึ้นจากการกู้สินเชื่อนอกระบบ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนฉุดความเจริญของประชาชนที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ร้อยละ 25 เป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5-8 ได้ ซึ่งวันที่ 3 กรกฏาคม ประชาชนทั่วประเทศจะเป็นผู้ตัดสินว่า นโยบายด้านแรงงานของพรรคใดจะโดนใจกว่ากัน
พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายเศรษฐกิจ2ด้านเช่นกัน คือเศรษฐกิจในระดับชาวบ้านและเศรษฐกิจในระดับภาพรวมของประเทศ โดยนโยบายใหม่ๆ ด้านแรงงานที่ประชาธิปัตย์นำมาสู้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้คือ เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 และจ่ายค่าจ้างแรงงานตามจำนวนชิ้นงานที่ลูกจ้างผลิตได้ ซึ่งการเพิ่มค่าแรงนี้ทางพรรคได้หารือร่วมกับภาคีแรงงานทั้งส่วนที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างมาแล้ว นอกจากนโยบายการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสานต่อนโยบายเดิมที่ช่วยลดภาระรายจ่ายของประชาชนด้วย ทั้งโครงการรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน,รถไฟฟรี และสวัสดิการอื่น ๆ จนกว่าภาวะเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้น ส่วนงบประมาณที่ใช้ในโครงการต่างๆไม่กำหนดแน่นอนเพราะแต่ละนโยบายใช้เวลาในการดำเนินการไม่เท่ากัน บางนโยบายใช้เวลา 2 ปี แต่บางนโยบายใช้เวลานานถึง 10ปี นอกจากนี้พรรคประชาธิปัตย์ยังให้สัญญาว่า จะไม่ทำให้คนไทยเป็นหนี้เพิ่มขึ้นจากการกู้สินเชื่อนอกระบบ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนฉุดความเจริญของประชาชนที่เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
นโยบายการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำที่ร้อยละ 25 เป็นหนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้ถึงร้อยละ 5-8 ได้ ซึ่งวันที่ 3 กรกฏาคม ประชาชนทั่วประเทศจะเป็นผู้ตัดสินว่า นโยบายด้านแรงงานของพรรคใดจะโดนใจกว่ากัน
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
แผนจัดการน้ำท่วม-อุทกภัย กับนายกฯปู
ความล่าช้าในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะทำให้คะแนนนิยมตกอย่างรวดเร็วชั่วโมงนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กำลังเจอปัญหาเดียวกัน ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากกำลังทำให้คะแนนของรัฐบาลจมน้ำ "ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทั้งมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง โดยปีพ.ศ. 2553 พบว่า ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ได้เกิดน้ำท่วมและอุทกภัยรุนแรงในหลายสิบจังหวัดเกือบทั่วประเทศ" นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัญหาในการบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก ล่าสุด รายงานการศึกษาเรื่อง "การบริหารจัดการน้ำท่วมและอุทกภัยของประเทศไทย" จัดทำโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินในปี 2554 ได้เสนอไปยังนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อไม่นานมานี้ มติชนออนไลน์ นำเสนอ รายงานการศึกษา ดังนี้
ปัญหาใหญ่ 8 ประการ ประกอบด้วย
-การตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นสาเหตุของน้ำท่วม
-การบุกรุกลำน้ำและการขุดลอกคูคลอง
-การกำหนดทิศทางการระบายน้ำไว้ในผังเมือง
-การเตือนภัย
-การเตรียมพร้อมอพยพเมื่อเกิดอุทกภัย
-การเปลี่ยนโครงสร้างระบบบริหารราชการที่มีการทำงานซ้ำซ้อน
-การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
-ความไม่พร้อมหลังการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และได้เสนอให้มีการเสนอยกร่างและปรับปรุงกฎหมาย
โดยในรายงานดังกล่าว สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอวิธีแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังต่อไปนี้
วิธีแก้ปัญหาในระยะสั้น
รัฐควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในท้องถิ่นเร่งจัดสร้างบ่อ ขุกลอกบ่อเดิม หรือตัดให้มีแหล่งรับน้ำขนาดใหญ่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะให้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำซึ่งมักเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำในฤดูฝนลงในบ่อน้ำหรือแก้มลิงที่รองรับน้ำไว้ชั่้วคราว ส่วนการสร้างบ่อน้ำยังทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ด้วย ทั้งนี้ สถานที่ในการก่อสร้างจะต้องมีการพิจารณาถึงเส้นทางน้ำไหลตามธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยอาจปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมืองทั้งในเรื่องความเป็นไปได้ในทางเทคนิคและวิศวกรรม รัฐต้องเตรียมระบบเตือนภัยที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากที่สุด เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยภิบัติ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจะต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพในการให้ข้อมูลทางด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันสารสนเทศทรัพยาการน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และกรมอุทกศาสตร์ รัฐควรให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลทางสถิติ และมีช่องทางในการเตือนภัยเช่นผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะรายการวิทยุ ผ่านการส่งข้อความตามมือถือ (sms) ที่สำคัญ ต้องมีการเตือนภัยผ่านวิทยุโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ในทุกเวลาที่มีการยืนยันว่าอาจจะเกิดภัยพิบัติขึ้น
ในส่วนการบรรเทาสาธารณภัยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต้องเตรียมระบบและแผนการปฏิบัติงานไว้รอบรับกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทั่วประเทศ ควรมีการวางแผนและซักซ้อมและจำลองสถาการณ์ เช่น การเตรียมเส้นทางเพื่ออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ภัยพิบัติ เตรียมสถานที่เพื่อรองรับผู้อพยพ ให้บริการด้านยังชีพแก่ผู้ประสบภัย และฝึกซ้อมประชาชนเป็นครั้งคราว
ในส่วนการบุกรุกทางน้ำสาธารณะและปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำ ที่ทำให้แหล่งน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้โดยสะดวกและเร็วอย่างที่ควรจะเป็นนั้น กรมเจ้าท่าและหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพจะต้องดำเนินการขุดลอกแม่น้ำ คู คลอง รวมถึงดำเนินคดีกับผู้ที่บุกรุกลำน้ำ
ในการก่อสร้างและพัฒนาถนนของกรมทางหลวงชนบทต้องมีการนำปัจจัยทางผังเมืองซึ่งเกี่ยวกับการระบายน้ำตามธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดถนน เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการสร้างถนนมักละเลยการพิจารณาเรื่องผังเมือง ทำให้ถนนหลายสายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขวางทางระบายน้ำตามธรรมชาติหรือไม่มีท่อลอดใต้ถนนเพื่อช่วยระบายน้ำ
กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางน้ำอยู่เสมอ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการระบายน้ำของถนน ทั้งนี้ เนื่องจากปกติแล้ว การสร้างถนนต้องมีการศึกษาแนวทางที่น้ำไหลโดยต้องวางแผนจัดทำท่อลอกสำหรับการระบายน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เส้นทางน้ำไหลหรือทางระบายน้ำอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินเปลี่ยนไป มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นขวางทางระบายน้ำ น้ำจึงไหลไปทางอื่นที่ไม่ได้มีการจัดเตรียมท่อลอดไว้
ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละจังหวัดต้องร่วมกันจัดทำแผนป้องกันอุทกภัยเบื้องต้น ทั้งสถิติการเกิดอุทกภัย ความรุนแรงของผลกระทบ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนป้องกัน ต้องมีการซักซ้อมและทดสอบความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัยอย่างน้อยปีละครั้ง
สำนักงบประมาณต้องจัดสรรงบประมาณให้สมเหตุสมผลเป็นไปตามความสำคัญและความจำเป็นที่แท้จริงแก่หน่วยงานที่ดำเนินการทางด้านการบริหารจัดการน้ำให้ ทั้งงบประมาณในการพัฒนาองค์ความรู้ จัดซื้อเครื่องมือและวิทยาการที่ทันสมัย ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันทำงานกันอย่างบูรณาการและไม่ให้มีการทำงานซ้ำซ้อน รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกรมชลประทาน ควรเลื่อนระยะเวลาการเพาะปลูกข้าวหรือพืชผลอื่นๆที่อาจจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูฝน มาเป็นช่วยระยะเวลาหลังฤดูฝนหลังจากเกิดอุทกภัยแล้ว เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องเสียหาย เนื่องจากน้ำท่วมผลผลิตจนขาดทุน
วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว
ต้องมีการดูแลรักษาป่าต้นน้ำให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ไม่ให้ป่าถูกบุกรุกทำลายได้ เพราะป่าเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลากและการพังทลายของดิน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด รัฐจำเป็นจะต้องจัดทำผังเมืองครอบคลุมทั้งประเทศ และออกเป็นกฎหมายผังเมืองประเทศโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันและอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีไม่น้อยกว่า 25 แห่งไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของประเทศ และโดยการห้ามออกเอกสารสิทธิ์ใดๆในที่ดินอนุรักษ์นี้ทั้งหมด มีการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (zoning) อย่างชัดเจนไม่ให้มีการรุกล้ำแหล่งระบายน้ำและลำน้ำตามธรรมชาติ การจะก่อสร้างอาคารหรือสาธารณูปโภคใดๆของทั้งรัฐและเอกชนจะต้องยึดแนวปฏิบัติตามผังเมืองเป็นหลัก
และรัฐควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะภารกิจที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางในการวางแผนและปฏิบัติงาน เพราะที่ผ่านมา หลายๆภารกิจที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับการถ่ายโอนจากหน่วยงานแล้วไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาใหญ่ 8 ประการ ประกอบด้วย
-การตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นสาเหตุของน้ำท่วม
-การบุกรุกลำน้ำและการขุดลอกคูคลอง
-การกำหนดทิศทางการระบายน้ำไว้ในผังเมือง
-การเตือนภัย
-การเตรียมพร้อมอพยพเมื่อเกิดอุทกภัย
-การเปลี่ยนโครงสร้างระบบบริหารราชการที่มีการทำงานซ้ำซ้อน
-การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ
-ความไม่พร้อมหลังการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และได้เสนอให้มีการเสนอยกร่างและปรับปรุงกฎหมาย
โดยในรายงานดังกล่าว สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอวิธีแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวดังต่อไปนี้
วิธีแก้ปัญหาในระยะสั้น
รัฐควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำในท้องถิ่นเร่งจัดสร้างบ่อ ขุกลอกบ่อเดิม หรือตัดให้มีแหล่งรับน้ำขนาดใหญ่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะให้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่อยู่ในเขตลุ่มน้ำซึ่งมักเกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ทั้งนี้เพื่อชะลอการไหลบ่าของน้ำในฤดูฝนลงในบ่อน้ำหรือแก้มลิงที่รองรับน้ำไว้ชั่้วคราว ส่วนการสร้างบ่อน้ำยังทำให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ด้วย ทั้งนี้ สถานที่ในการก่อสร้างจะต้องมีการพิจารณาถึงเส้นทางน้ำไหลตามธรรมชาติเป็นสำคัญ โดยอาจปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมืองทั้งในเรื่องความเป็นไปได้ในทางเทคนิคและวิศวกรรม รัฐต้องเตรียมระบบเตือนภัยที่มีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากที่สุด เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นจากภัยภิบัติ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาซึ่งเป็นหน่วยงานหลักจะต้องบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพในการให้ข้อมูลทางด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็น สถาบันสารสนเทศทรัพยาการน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ มูลนิธิสภาพเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และกรมอุทกศาสตร์ รัฐควรให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาควบคู่ไปกับการใช้ข้อมูลทางสถิติ และมีช่องทางในการเตือนภัยเช่นผ่านสื่อมวลชนโดยเฉพาะรายการวิทยุ ผ่านการส่งข้อความตามมือถือ (sms) ที่สำคัญ ต้องมีการเตือนภัยผ่านวิทยุโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยได้ในทุกเวลาที่มีการยืนยันว่าอาจจะเกิดภัยพิบัติขึ้น
ในส่วนการบรรเทาสาธารณภัยนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต้องเตรียมระบบและแผนการปฏิบัติงานไว้รอบรับกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในทั่วประเทศ ควรมีการวางแผนและซักซ้อมและจำลองสถาการณ์ เช่น การเตรียมเส้นทางเพื่ออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ภัยพิบัติ เตรียมสถานที่เพื่อรองรับผู้อพยพ ให้บริการด้านยังชีพแก่ผู้ประสบภัย และฝึกซ้อมประชาชนเป็นครั้งคราว
ในส่วนการบุกรุกทางน้ำสาธารณะและปัญหาการตื้นเขินของลำน้ำ ที่ทำให้แหล่งน้ำไม่สามารถระบายน้ำได้โดยสะดวกและเร็วอย่างที่ควรจะเป็นนั้น กรมเจ้าท่าและหน่วยงานอื่นที่มีศักยภาพจะต้องดำเนินการขุดลอกแม่น้ำ คู คลอง รวมถึงดำเนินคดีกับผู้ที่บุกรุกลำน้ำ
ในการก่อสร้างและพัฒนาถนนของกรมทางหลวงชนบทต้องมีการนำปัจจัยทางผังเมืองซึ่งเกี่ยวกับการระบายน้ำตามธรรมชาติมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดถนน เพื่อป้องกันอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการสร้างถนนมักละเลยการพิจารณาเรื่องผังเมือง ทำให้ถนนหลายสายขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขวางทางระบายน้ำตามธรรมชาติหรือไม่มีท่อลอดใต้ถนนเพื่อช่วยระบายน้ำ
กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทต้องศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางน้ำอยู่เสมอ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการระบายน้ำของถนน ทั้งนี้ เนื่องจากปกติแล้ว การสร้างถนนต้องมีการศึกษาแนวทางที่น้ำไหลโดยต้องวางแผนจัดทำท่อลอกสำหรับการระบายน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เส้นทางน้ำไหลหรือทางระบายน้ำอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ เนื่องจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินเปลี่ยนไป มีสิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นขวางทางระบายน้ำ น้ำจึงไหลไปทางอื่นที่ไม่ได้มีการจัดเตรียมท่อลอดไว้
ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละจังหวัดต้องร่วมกันจัดทำแผนป้องกันอุทกภัยเบื้องต้น ทั้งสถิติการเกิดอุทกภัย ความรุนแรงของผลกระทบ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนป้องกัน ต้องมีการซักซ้อมและทดสอบความพร้อมในการบรรเทาสาธารณภัยอย่างน้อยปีละครั้ง
สำนักงบประมาณต้องจัดสรรงบประมาณให้สมเหตุสมผลเป็นไปตามความสำคัญและความจำเป็นที่แท้จริงแก่หน่วยงานที่ดำเนินการทางด้านการบริหารจัดการน้ำให้ ทั้งงบประมาณในการพัฒนาองค์ความรู้ จัดซื้อเครื่องมือและวิทยาการที่ทันสมัย ทุกหน่วยงานต้องร่วมกันทำงานกันอย่างบูรณาการและไม่ให้มีการทำงานซ้ำซ้อน รวมทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกรมชลประทาน ควรเลื่อนระยะเวลาการเพาะปลูกข้าวหรือพืชผลอื่นๆที่อาจจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงปลายฤดูฝน มาเป็นช่วยระยะเวลาหลังฤดูฝนหลังจากเกิดอุทกภัยแล้ว เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องเสียหาย เนื่องจากน้ำท่วมผลผลิตจนขาดทุน
วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว
ต้องมีการดูแลรักษาป่าต้นน้ำให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ไม่ให้ป่าถูกบุกรุกทำลายได้ เพราะป่าเป็นแหล่งดูดซับและกักเก็บน้ำตามธรรมชาติ ป้องกันการเกิดน้ำป่าไหลหลากและการพังทลายของดิน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่ป่าเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด รัฐจำเป็นจะต้องจัดทำผังเมืองครอบคลุมทั้งประเทศ และออกเป็นกฎหมายผังเมืองประเทศโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันและอนุรักษ์พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งมีไม่น้อยกว่า 25 แห่งไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของประเทศ และโดยการห้ามออกเอกสารสิทธิ์ใดๆในที่ดินอนุรักษ์นี้ทั้งหมด มีการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (zoning) อย่างชัดเจนไม่ให้มีการรุกล้ำแหล่งระบายน้ำและลำน้ำตามธรรมชาติ การจะก่อสร้างอาคารหรือสาธารณูปโภคใดๆของทั้งรัฐและเอกชนจะต้องยึดแนวปฏิบัติตามผังเมืองเป็นหลัก
และรัฐควรต้องทบทวนเกี่ยวกับการถ่ายโอนอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะภารกิจที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางในการวางแผนและปฏิบัติงาน เพราะที่ผ่านมา หลายๆภารกิจที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับการถ่ายโอนจากหน่วยงานแล้วไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
ประเด็นร้อนการเมืองไทย 8 กันยายน 54
1.การขอพระราชทานอภัยโทษพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังเป็นข้อถกเถียงกันอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อกฎหมายที่ทำได้ หรือไม่ได้อย่างไร ไปจนถึงความเหมาะสมถูกต้อง ซึ่งล่าสุด พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรมผู้รับผิดชอบในการเดินเรื่อง อาศัยประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อพิจารณาข้อกฎหมาย เพื่อไม่ให้ตัวเองตกเป็นเป้าผลการพิจารณาของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะทำให้สังคมเห็นกรอบความชัดเจนมากขึ้นในเร็วๆ นี้ ส่วนจะออกมาอย่างไรจะมีผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาลแค่ไหนต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
2.เรื่องใหญ่อีกเรื่องอยู่ที่ความคืบหน้าหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมแทนนายกฯ เห็นชอบให้รับคดีการสรรหาคณะกรรมการ กสทช.ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาพิจารณา วันนี้จึงต้องติดตามท่าทีจากแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าจะออกมาอย่างไร และเป็นไปได้สูงว่าการตั้งกรรมการ กสทช.ยังคงเป็นเรื่องอาถรรพ์ที่ไม่ปกติ
3.หลังจาก นายถวิล เปลี่ยนศรีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ประกาศตัวเดินหน้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม (ก.พ.ค.) กรณีถูกโยกย้ายจากเลขาฯ สมช.ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯจากนี้จึงต้องรอดูว่าจะมีข้าราชการคนไหนที่ถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรมประกาศตัวออกมายื่นเรื่องร้องเรียนเพิ่มเติมอีกหรือไม่
4.กระทู้ถามสดวันนี้ "ประชาธิปัตย์"หลังประชุมยกเครื่องกันมาแล้วเตรียมถล่มแผลใหญ่ อย่างเรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่เป็นไปอย่างล่าช้า และต้องการความชัดเจนจากเรื่องการเยียวยาเกษตรกรในส่วนต่างราคาพืชการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะจากที่รัฐบาลยกเลิกระบบประกันรายได้ไปใช้ระบบจำนำที่จะยิ่งซ้ำเติมเกษตรกรในหลายพื้นที่ ซึ่งจะได้รอดูความชัดเจนในแนวทางการแก้ปัญหาของรัฐบาลว่าจะเป็นอย่างไร
5.ยังเป็นเรื่องวิกฤตน้ำท่วม แม้ถูกจองจำทางการเมือง หากแต่ นายบรรหาร ศิลปอาชา กลับมีบทบาทสูงยิ่งในฐานะประธานที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ด้วยการให้โจทย์กรมชลประทานเร่งหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไปเมื่อวานนี้ มาถึงวันนี้ นายบรรหารก็ลงพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไข เริ่มจาก จ.พระนครศรีอยุธยา และจะต่อด้วย จ.นครสวรรค์ ในวันเสาร์-อาทิตย์ที่จะถึงนี้
6.น่าจะได้ข้อสรุปวันนี้กับการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร 35 คณะ ซึ่ง นายเจริญจรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ได้นัดหารือกับตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆ เวลา 14.00 น. โดยทางฝ่ายค้านเสนอให้ดำเนินการเลือกเป็นรอบๆ จำนวน 3 รอบ และถ้าหากมีปัญหาเรื่องการเลือกซ้ำกันก็จะใช้วิธีการจับสลาก ส่วนจะลงตัวได้ข้อยุติร่วมกันหรือไม่ พรรคไหนได้กรรมาธิการไหนต้องรอดูกันวันนี้
7.หอการค้าไทยจัดแถลงข่าว "ข้อคิดเห็นของหอการค้าไทยที่มีต่อเศรษฐกิจไทยและผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค" ประจำเดือน ส.ค. 2554 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ค.2554 อยู่ที่ 84.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 79.3 และ 81.7 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนก่อนตามลำดับ
8.ผู้บริหารกระทรวงต่างๆ ยังคงเดินสายมอบงานแก่หน่วยงานในสังกัดอย่างต่อเนื่อง โดยวันนี้ นายพิชัยนริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน จะมอบนโยบายให้ผู้บริหารบริษัท ปตท. รวมทั้งหารือด้านพลังงานร่วมกัน ขณะที่พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคม ก็เดินทางไปมอบนโยบายการดำเนินการแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.)
เปิดแผน'บริหารแผ่นดิน4ปี' รัฐบาล'ยิ่งลักษณ์'
เป็นแผนบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในช่วงปี 2555-2558 ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
รัฐบาลจะมุ่งมั่นการพัฒนาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และพัฒนาไปสู่การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน โดยยึดหลักการบริหารที่มีความยืดหยุ่นที่คำนึงถึงพลวัต การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้รัฐบาลจะดำเนินการให้บรรลุภารกิจดังกล่าว ภายใต้แนวทางพื้นฐานหลัก 3 ประการ คือ
1.เพื่อนำประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการสร้างการเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยในทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชี้ขาดความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขันได้ของเศรษฐกิจไทย
2.เพื่อนำประเทศสู่สังคมที่มีความปรองดอง สมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากลเดียวกันและมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียมกันต่อประชาชนคนไทยทุกคน
3.เพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง
@ กรอบการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล
เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินสามารถบรรลุถึงภารกิจตามนโยบายรัฐบาล จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์และวิธีการดำเนินการที่สอดคล้องกับนโยบาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มในปีแรก
ดำเนินนโยบายในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยเฉพาะการให้สินเชื่อเพื่อประกอบอาชีพ ให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการยกระดับราคาสินค้าเกษตร การเพิ่มรายได้ให้แก่แรงงาน และผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี การให้เบี้ยยังชีพรายเดินแบบขั้นบันได แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนั้น จะดำเนินการเร่งการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศ และนอกประเทศ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ทั้งนี้การดำเนินงานระยะเร่งด่วน ในปีแรก จะครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ประเทศไทย และคนไทยเผชิญอยู่ใน 3 เรื่องสำคัญได้แก่
1.การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นในสังคม และการพัฒนาการเมืองของประเทศ เพื่อให้คนไทยหันกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง มีความสามัคคี สังคมไทยมีความสงบสุข และปลอดจากปัญหายาเสพติด ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง โดยเร่งดำเนินการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ การแก้ไขปัญหายาเสพติดตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นในภาครัฐ การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
2.การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพของประชาชน และการสร้างโอกาสในการสร้างรายได้ และการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของเยาวชนและประชาชน โดยเพิ่มรายได้ให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ ควบคู่ไปกับการลดรายจ่ายของประชาชน ทั้งในด้านราคาสินค้าและราคาพลังงาน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการสร้างอาชีพ รวมทั้งการสร้างหลักประกันในด้านสุขภาพ และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการศึกษาเยาวชนไทย
3.การสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรเพื่อการเกษตร และการสร้างรายได้ของประเทศ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โดยสร้างความมั่นคงของภาคการผลิตทางการเกษตร ด้วยการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและการขยายเขตพื้นที่ชลประทาน การสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการท่องเที่ยว และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการฟื้นฟูสัมพันธ์อันดี และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศต่างๆ รวมทั้งลดภาษีเงินได้นิติบุคคลและการขยายฐานภาษีเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และรองรับการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
@ การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ
มีการกำหนดเป้าประสงค์เชิงนโยบายไว้ 5 เรื่อง คือ เรื่องที่หนึ่ง สังคมไทยมีความสมานฉันท์ประชาชนในชาติ มีความรักสมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรื่องที่สอง ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เรื่องที่สาม สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการเมือง เรื่องที่สี่ บุคคลทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง และความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540 ได้รับการเยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง เรื่องที่ห้า คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่
นโยบายที่จะดำเนินการในระยะ 4 ปี
รัฐบาลได้กำหนดนโยบายพื้นที่ที่จะดำเนินการในระยะ 4ปีของรัฐบาล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีแรกเป็นต้นไป ดังนี้
1. ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพและระบบป้องกันประเทศ และเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาการเตรียมความพร้อมแห่งชาติ เพื่อให้มีความพร้อมรับมือกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในทุกด้าน
2. ด้านสร้างรายได้ ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งจากภายนอกและภายในประเทศ ขยายบทบาทให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารซึ่งเป็นแหล่งรายได้และการจ้างงาน เพื่อนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหารคุณภาพสูง และยกระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายช่องการตลาด รวมทั้งดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการที่มีเทคโนโลยีสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. ด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญในการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ มีการจ้างงานที่เต็มที่ รวมทั้งมีความระมัดระวังความเสี่ยงจากความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และมีการส่งเสริมการสร้างรายได้ภายในประเทศ โดยการเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ และสร้างความเข้มแข็งให้กับสภาพแวดล้อมในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน และการตลาด ภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดต้นทุนการขนส่งเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างโอกาสในกระจายรายได้ และการกระจายการลงทุนไปสู่ชนบท เป็นต้น
4. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดี และมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพ เร่งพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อให้การกระจายครูเพื่อขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาขาวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา ด้านการคุ้มครองแรงงานรัฐบาล ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในการทำงานและสวัสดิการแรงงาน และหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิประโยชน์ในการประกันสังคมให้มากขึ้น และขยายความคุ้มครองถึงแรงงานนอกระบบ ที่รัฐจะต้องดูแลภายใต้ระบบคุ้มครองแรงงาน การจัดสวัสดิการ และบริการทางสังคม แก่ผู้ด้อยโอกาส และคนยากจนให้ทั่วถึง รวมทั้งยังเร่งยกระดับฝีมือแรงงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมายให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้แรงงานมีฝีมือ ทั้งระบบและเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นอกจากนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพให้บริการสุขภาพทั้งระบบโดยการเร่งผลิตบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้เพียงพอ การจัดให้มีมาตรการสร้างสุขภาพโดยมีเป้าหมายในการลดอัตราการป่วยตาย และผลกระทบจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นเลิศในด้านผลิตภัณฑ์และการบริการด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ในภูมิภาคเอเชีย
5. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทุนทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากร การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ และการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติธรรมชาติ
6. ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมบนฐานความรู้ โดยการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยพัฒนาร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ร่วมทั้งเร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
7. ด้านต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และการใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน รวมทั้งเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558
8. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการเน้นการบริหารงานเชิงกลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบบริหารงานแบบบูรณาการ รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งการช่วยเหลือด้านกฎหมาย ส่งเสริมกองทุนยุติธรรมเพื่อคุ้มครองช่วยเหลือคนจนและคนด้อยโอกาสรวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม
นโยบายเร่งด่วน 16 ประการ ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นโยบายรัฐบาลที่เตรียมนำแถลงต่อรัฐสภาวันที่ 24 สิงหาคมผ่านความเห็นชอบในหลักการจากครม.เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมโดยมีเนื้อหา 34 หน้า แบ่งออกเป็น 8 นโยบาย ในจำนวนนี้ มีนโยบายเร่งด่วน17 หัวข้อที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะดำเนินการขับเคลื่อนให้เห็นผลในปีแรกของการบริหารราชการแผ่นดิน
1.สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
- สร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย โดยการเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกันของประชาชนในชาติให้เกิดความสมัครสมาน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- เยียวยาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องแก่บุคคลทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางความคิด ทางการเมืองและความรุนแรงที่ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของการใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540
- สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างอิสระและได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจ สอบหาความจริงกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจ ความเสียหายทางทรัพย์สิน
2.กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
3.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริงจัง
4.เร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบและนำสันติสุขกลับสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเร็ว
5.เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
6.แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
7.ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
- พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 5 แสนบาท
- เพิ่มรายได้รายวันสำหรับแรงงานเป็นวันละ 300 บาท และรายเดือนของผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
- จัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ
- ให้มีมาตรการภาษีเพื่อลดภาระการลงทุนสำหรับสิ่งจำเป็นในชีวิตของประชาชนทั่วไป ได้แก่บ้านหลังแรก
8.ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และลดลงร้อยละ 20 ในปี 2556 เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชน ขยายฐานภาษีและรองรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558
9.ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนสินเชื่อรายย่อย
- เพิ่มกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 1 ล้านบาท
จัดตั้งกองทุนพัฒนาศักยภาพสตรีเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท
- จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงินประมาณ 1 พันล้านบาทต่อสถาบันอุดมศึกษา
10.ยกระดับสินค้าการเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยให้มีการประกันภัยพืชผลและนำระบบรับจำนำสินค้าการเกษตรมาใช้ รวมถึงการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
11.ส่งเสริมให้มีการจัดการน้ำอย่างบูรณาการด้วยการสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่-กลาง -เล็ก
12.เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวโดยปี 2554-2555 เป็นปีมหัศจรรย์ไทยแลนด์ (มิราเคิลไทยแลนด์ เยียร์) และประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลในช่วงปี 2554-2555
13.สนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และผลิตสินค้าในท้องถิ่น
- สนับสนุนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ
- บริหารโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มีศักยภาพ
14.พัฒนาระบบประกันสุขภาพ 30 บาทรักษาทุกโรค
15.จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้โรงเรียน โดยเริ่มทดลองดำเนินการในโรงเรียนนำร่อง สำหรับระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในแท็บเล็ต รวมถึงทำอินเตอร์เน็ตไร้สายในระดับการให้บริการและในพื้นที่สาธารณะ รวมถึงสถานศึกษาที่กำหนดฟรี
16.เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมือง ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขว้าง โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประชาชนเห็นชอบโดยการออกเสียงประชามติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)